อาณาจักรโบราณในภาคกลาง

1) อาณาจักรทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 11-16) เป็นอาณาจักรสมัยประวัติศาสตร์ที่มีหลักฐานแน่นนอนแห่งแรกบนผืนแผ่นดินไทย เรื่องราวของทวารวดีปรากฏอยู่ในบันทึกการเดินทางของหลวงจีนอี้จิง ที่เรียกชื่อในบันทึกว่า “โถ-โล-โป-ตี้” ตั้งอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและอาจมีศูนย์กลางอยู่ที่จังหวัดนครปฐม เพราะพบเหรียญที่นครปฐมมีจารึกภาษาสันสกฤตว่า “ศรีทวารวตีศวรปุณย” แปลว่า “การบุญของผู้ใหญ่ศรีทวารวดี” ในการขุดค้นทางโบราญคดีที่เมืองนครชัยศรี (นครปฐม) ได้พบหลักฐานสมัยทวารวดีจำนวนมาก เช่น ธรรมจักรศิลา พระพุทธรูปศิลาขนาดใหญ่ประทับนั่งห้อยพระบาทปางแสดงธรรมรวมถึงโบราญสถานขนาดใหญ่
นอกจากนี้ยังมีการค้นพบจารึกโบราณที่เขียนด้วยภาษามอญได้รับอิทธิพลพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท ศิลปวัฒนธรรมตลอดจนแบบแผนในการปกครองจากอินเดีย เกิดการผสมผสานจนเป็นอารยธรรมทวารวดีที่แพร่หลายไปยังภูมิภาคต่างๆของไทย ทางด้านศาสนาได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนาโดยเฉพาะนิกายเถรวาทจนทำให้ทวารวดีกลายเป็นอาณาจักรของชาวพุทธให้ความสำคัญต่อการทำบุญ ทั้งสถาปัตยกรรมทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญในสมัยทวารวดีและยังปรากฏให้เห็นจนปัจจุบัน คือ พระปฐมเจดีย์(องค์เก่า) ที่จังหวัดนครปฐม
2) อาณาจักรละโว้(พุทธศตวรรษที่12-18) ศูนย์กลางอยู่ที่เมืองละโว้หรือลพบุรีในปัจจุบัน ละโว้เป็นเมืองสำคัญหนึ่งในสมัยทวารวดี ตั้งอยู่ในบริเวณที่มีแม่น้ำสำคัญ 3 สายไหลผ่านคือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำลพบุรีทำให้มีความอุดมสมบูรณ์ และมีเส้นทางติดต่อกับเมืองในลุ่มแม่น้ำป่าสัก ที่ราบสูงโคราช และเขตติดต่อกับทะเลสาบเขมร เป็นศูนย์กลางการติดต่อระหว่างชุมชนโดยรอบ ส่งผลให้ละโว้กลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่มีเศรษฐกิจดี เมื่อพวกขอมหรือเขมรขยายอิทธิพลเข้ามาในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ละโว้ได้กลายเป็นเมืองประเทศราชของขอมและได้รับอารยธรรมของขอมด้วย
ด้านเศรษฐกิจ อาชีพสำคัญของชาวละโว้คือการเกษตร เพรามีพื้นที่อุดมสมบูรณ์และมีการติดต่อค้าขายกับชุมชนต่างถิ่น เช่น จีน อินเดีย หลักฐานที่แสดงถึงการติดต่อค้าขาย เช่น เครื่องถ้วยจีน และละโว้ยังได้ส่งทูตไปยังเมืองจีน โดยจดหมายเหตุจีนในพุทธศตวรรษที่17-19 เรียกละโว้ว่า “เมืองหลอหู”
ละว้าภายใต้อิทธิพลขอม พระพุทธศาสนานิกายมหายานและศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ได้เข้ามามีบทบาทในละโว้แทนพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท โดยเฉพาะในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ.1724-1861) มีการสร้างสถาปัตยกรรม และประติมากรรมตามความเชื่อในศาสนาเหล่านี้ เช่น พระปรางค์สามยอด ปรางค์แขก เทวรูปพระโพธิ์สัตว์อวโลกิเตศวร

อาณาจักรทวารวดี

ทวารวดี เป็นคำภาษาสันสกฤต เกิดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2427 โดยนายแซมมวล บีล (อังกฤษ: Samuel Beel) ได้แปลงมาจากคำว่า โถโลโปตี (อังกฤษ: Tolopoti) ที่มีอ้างอยู่ในบันทึกของภิกษุจีนจิ้นฮง (อังกฤษ: Hiuantsang) ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 กล่าวว่า โถโลโปตี เป็นชื่อของอาณาจักรหนึ่งตั้งอยู่ระหว่างอาณาจักรศรีเกษตร (มอญ) และอาณาจักรอิศานปุระ (เขมร) และเขาได้สรุปด้วยว่าอาณาจักรนี้เดิมตั้งอยู่ในดินแดนประเทศไทย(สยาม)ปัจจุบัน และยังสันนิษฐานคำอื่นๆที่มีสำเนียงคล้ายกันเช่น จวนโลโปติ (อังกฤษ: Tchouanlopoti) หรือ เชอโฮโปติ (อังกฤษ:Chohopoti) ว่าคืออาณาจักรทวารวดีด้วย

ต่อมาความคิดเห็นนี้ได้มีผู้รู้หลายท่านศึกษาต่อและให้การยอมรับเช่น นายเอดัวร์ ชาวาน (อังกฤษ: Edourd Chavannes) และ นายตากากุสุ (อังกฤษ: Takakusu) ผู้แปลจดหมายเหตุการเดินทางของภิกษุอี้จิงในปี พ.ศ. 2439 และ นายโปล เปลลิโอต์ (อังกฤษ: Paul Pelliot) ผู้ขยายความอาณาจักรทวารวดีเพิ่มอีกว่ามีประชาชนเป็นชาวมอญในปี พ.ศ. 2447 เป็นต้น ดังนั้นบรรดาเมืองโบราณรวมทั้งโบราณวัตถุสถานต่างๆที่พบมากมายโดยเฉพาะในบริเวณลุ่มน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งแต่เดิมไม่สามารถจัดกลุ่มได้ว่าเป็นของขอมหรือของไทย แต่มีลักษณะคล้ายกับศิลปะอินเดียสมัยราชวงศ์คุปตะ – หลังคุปตะ ราวพุทธศตวรรษที่ 9-13 ที่พันตรีลูเนต์ เดอ ลาจองกีเยร์ (อังกฤษ:Lunet de Lajonguiere) เรียกว่า กลุ่มอิทธิพลอินเดียแต่ไม่ใช่ขอม จึงถูกนำมาสัมพันธ์กลายเป็นเรื่องเดียวกัน โดยศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ (พ.ศ. 2468) และสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (พ.ศ. 2469) เป็นกลุ่มบุคคลแรกที่กำหนดเรียกชื่อดินแดนที่เมืองโบราณเหล่านี้ตั้งอยู่ รวมทั้งงานศิลปกรรมที่พบนั้นว่าคือดินแดนแห่งอาณาจักรทวารวดี และศิลปะแบบทวารวดี โดยใช้เหตุผลของตำแหน่งที่ตั้งอาณาจักรตามบันทึกจีนกับอายุของบันทึก และอายุของงานศิลปกรรมที่ตรงกัน อาณาจักรทวารวดีจึงกลายเป็นอาณาจักรแรกในดินแดนไทย กำหนดอายุตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 12 ลงมาถึงพุทธศตวรรษที่ 16

อาณาจักรทวารวดี เป็นที่น่าเชื่อถือขึ้นอีกเมื่อพบเหรียญเงิน 2 เหรียญ มีจารึกภาษาสันสกฤตอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13 จากเมืองนครปฐมโบราณ มีข้อความว่า ศรีทวารวดีศวรปุณยะ ซึ่งแปลได้ว่า บุญกุศลของพระราชาแห่งศรีทวารวดี หรือ บุญของผู้เป็นเจ้าแห่งศรีทวารวดี หรือ พระเจ้าศรีทวารวดีผู้มีบุญอันประเสริฐ อาณาจักรทวารวดีจึงเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่ามีอยู่จริง และยังเชื่อกันอีกด้วยว่าเมืองนครปฐมโบราณน่าจะเป็นศูนย์กลางหรือเมืองหลวงของอาณาจักร (แต่ปัจจุบันพบเหรียญลักษณะคล้ายกันอีก 2 เหรียญ ที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี และที่อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ความสำคัญของเมืองนครปฐมจึงเปลี่ยนไป) แต่ขณะเดียวกันนักวิชาการบางท่านก็เชื่อว่าอำเภออู่ทอง หรืออาจเป็นจังหวัดลพบุรี ที่น่าจะเป็นเมืองหลวงมากกว่ากัน

อาณาจักรละโว้

เมืองละโว้ ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำภาคกลางฝั่งตะวันออก เมื่อเริ่มแรกในพุทธศตวรรษที่ 12 ก็มีคติความเชื่อเป็นพุทธศาสนาแบบเถรวาทเหมือนกับบ้านเมืองทางฝั่งตะวันตก และได้ขยายอาณาเขตขึ้นไปตามลำน้ำปิง โดยจัดตั้งเมืองหริภุญไชยขึ้น (ซึ่งภายหลังคือเมืองลำพูน) บนที่ราบหว่างหุบเขาอันกว้างใหญ่ที่ต้นแม่น้ำปิงเป็นเมืองสืบต่อมา และถ่ายทอดอารยธรรมทางพระพุทธศาสนาแบบเถรวาทให้แก่ราชวงศ์พระเจ้ามังราย ที่เข้ามาครอบครองในภายหลัง

คำว่าละโว้นี้น่าสัณนิษฐานได้ว่ามาจากคำว่า ลวะ นั่นเอง (ซึ่ง ลวบุรี กลายมาเป็น ลพบุรี ในทุกวันนี้) ซึ่งคำว่า ลวะ ในสันสกฤตแปลว่า น้ำ (ซึ่งอาจหมายความถึงว่าเมืองนี้มีน้ำมาก) เมื่อนำเอามาสมาสกับคำว่า อุทัย (ลว + อุทัย) ก็กลายเป็นลโวทัย (ดังเช่น สุข + อุทัย กลายเป็น สุโขทัย) ซึ่งคำจารึก “ลโวทัยปุระ” ยังพบปรากฏบนเหรียญเงินโบราณที่ขุดค้นได้ที่บริเวณจังหวัดลพบุรีอีกด้วย แต่บ้างก็ว่าคำว่า ละโว มาจากภาษามอญซึ่งแปลว่าภูเขา คงเนื่องเพราะเมืองนี้มีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขา

เมืองละโว้ได้รับคติทางศาสนาพราหมณ์จากราชอาณาจักรขอมกัมพูชา [1] และพุทธศาสนาแบบมหายานที่ขึ้นมาจากทางทิศใต้ ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 16 คติความเชื่อทั้งสองนั้นเข้ากันได้และส่งเสริมการปกครองบ้านเมืองที่รวมกันเป็นราชอาณาจักรใหญ่ ดังนั้น เมืองละโว้จึงเป็นเมืองที่มีเครือข่ายความสัมพันธ์ไปถึงบ้านเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือแห่งลุ่มแม่น้ำมูล คือเมืองพิมาย ในจังหวัดนครราชสีมา เมืองพนมรุ้ง ในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ ไปจนถึงเมืองพระนครหลวงในกัมพูชา ซึ่งทั้งเมืองพิมายและเมืองพนมรุ้งต่างก็มีศิลาจารึกที่แสดงอำนาจความเป็นอิสระของการเป็นเมืองหลวงปกครองดินแดนในละแวกใกล้เคียงในระดับหนึ่งด้วย ส่วนเมืองละโว้นั้น ในช่วงเวลานี้มีเอกสารประเภทตำนานที่แสดงถึงการแตกแยก ที่ทำให้เมืองหริภุญไชยซึ่งมีเมืองในอาณัติ คือ นครเขลางค์ แยกออกไปปกครองตนเองโดยอิสระ เป็นอีกแว่นแคว้นหนึ่งที่ต้นแม่น้ำปิง

ในระยะเวลาต่อมา เมืองละโว้มีบทบาทก่อให้เกิดเมืองหลวงขึ้นในประวัติศาสตร์ไทยอีกเมืองหนึ่ง คือ เมืองสุโขทัย ที่ขึ้นไปจัดตั้งไว้ที่ตอนบนของที่ราบฝั่งแม่น้ำยม เมื่อประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 18 แต่หลังจากนั้นไม่นาน สุโขทัยก็แยกตัวออกเป็นอิสระอีกแว่นแคว้นหนึ่งเช่นเดียวกับเมืองหริภุญไชย เรื่องราวในศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ 2 วัดศรีชุม เรื่องพ่อขุนผาเมือง และพ่อขุนบางกลางหาวรบกับขอมสบาดโขลญลำพง อาจเป็นเรื่องราวตอนที่สุโขทัยแยกตัวออกจากเมืองละโว้ก็ได้ ส่วนเมืองละโว้นั้น ก็ได้มีการขยับขยายราชธานีลงทางใต้ ตั้งบ้านเมืองในบริเวณที่แม่น้ำ 3 สายคือ แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำลพบุรี และแม่น้ำเจ้าพระยา ไหลมาบรรจบกัน และมีความสัมพันธ์กับกลุ่มเมืองสุพรรณภูมิ ต่อมาก็ได้จัดตั้งกรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นเมืองหลวงในที่สุด

เมืองสำคัญอีกเมืองหนึ่งที่อาจกล่าวว่าอยู่ในขอบเขตใกล้ทะเลอ่าวไทย คือ เมืองศรีมโหสถแห่งลุ่มน้ำบางปะกงหรือแม่น้ำปราจีนบุรี ปัจจุบันเมืองนี้อยู่ในเขตอำเภอศรีมโหสถ (โคกปีบ)จังหวัดปราจีนบุรี เป็นเมืองที่มีศาสนสถานเป็นจำนวนมาก โบราณสถานที่เก่าแก่ที่สุดของเมืองนี้อาจสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 10 แต่โบราณสถานที่เป็นของเมืองนี้อย่างแน่นอน และเป็นศาสนสถานของพุทธศาสนาแบบเถรวาทนั้น คือ รอยพระพุทธบาทคู่ที่วัดสระมรกต ซึ่งอยู่นอกเมืองทางทิศใต้ สร้างขึ้นเมื่อต้นพุทธศตวรรษที่ 14 เมืองศรีมโหสถเป็นเมืองศูนย์กลางปกครองดินแดนใกล้เคียงสืบต่อกันมา จนถึงพุทธศตวรรษที่ 17 – 18 จึงได้กลายเป็นเมืองในราชอาณาจักรขอมกัมพูชา ซึ่งมีศูนย์กลางที่เมืองพระนครหลวง และมีหลักฐานแสดงการนับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายาน

ข้อความตัวหนา’== การเปลี่ยนแปลงดินแดน == พื้นที่อาณาจักรละโว้ระบายด้วยสีฟ้า

  • ประมาณ พ.ศ. 1543-1643

  • ประมาณ พ.ศ. 1843

พื่นที่สีฟ้าคือ ละโว้

ละโว้คือ พื้นที่สีฟ้า

อาณาจักรโบราณในภาคเหนือ

1) อาณาจักรโยนกเชียงแสน(พุทธศตวรรษที่ 12-19) มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองเชียงแสน (อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย) เรื่องราวของอาณาจักรโยนกเชียงแสน ปรากฏอยู่ในตำนานสิงหนวัติกุมารและตำนานลวจังกราช กล่าวถึงเจ้าชายสิงหนวัติกุมาร ผู้สืบเชื้อสายเจ้านายไท จากมณฑลยูนนานทางตอนใต้ของจีน ได้อพยพผู้คนลงมาประมาณพุทธศตวรรษที่ 13 มาก่อตั้งเมืองที่เชียงแสน ชื่ออาณาจักรโยนกเชียงแสน ต่อมาพวกขอมเข้ายึดครองอาณาจักรโยนกเชียงแสน และขับไล่ผู้ปกครองเดิมออกไป พระเจ้าพรหมกุมารเชื้อสายของกษัตริย์โยนกเชียงแสนสามารถกอบกู้เอกราช และสร้างเมืองใหม่ขึ้นที่เวียงชัยปราการ แต่หลังพระเจ้าพรหม พวกขอมที่เมืองสะเทินในพม่ายกทัพมารุกราน พระเจ้าไชยสิริโอรสของพระเจ้าพรหมจึงพาผู้คนอพยพหนีมาสร้างเมืองใหม่ที่กำแพงเพชร จนกระทั่งในพุทธศตวรรษที่ 19 อาณาจักรโยนกเชียงแสนจึงถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนา
2) อาณาจักรหริกุญชัย (พุทธศตวรรษที่ 13-19) ตั้งอยู่ที่เมืองหริกุญชัยหรือจังหวัดลำพูนในปัจจุบัน ตำนานจามเทวีวงค์หรือตำนานเมืองหริกุญชัยกล่าวว่า ฤาษีวาสุเทพเป็นผู้สร้างเมืองหริกุญชัย และขอให้กษัตริย์ละโว้ส่งเชื้อสายพระวงศ์มาปกครอง ละโว้จึงส่งพระนางจามเทวีผู้เป็นพระราชธิดามาเป็นปฐมกษัตริย์แห่งหริกุญชัย จนถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 17 พระอาทิตยราชได้ปกครองหริกุญชัย และได้สร้างความเจริญรุ่งเรืองโดยเฉพาะการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ทรงสร้างพระธาตุหริกุญชัย สร้างวัดทำให้บ้านเมืองมีความสงบสุข
3) อาณาจักรล้านนา(พุทธศตวรรษที่ 19-25) มีศูนย์อยู่ที่เมืองนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่(จังหวัดชียงใหม่) ผู้ก่อตังอาณาจักรล้านนา คือ พระยามังรายมหาราช(พ.ศ. 1804-1854) ซึ่งเดิมปกครองเมืองเชียงแสน ขณะนั้นในภาคเหนือมีอาณาจักรน้อยใหญ่หลายแห่ง เช่น หริกุญชัย เขลางค์ (ลำปาง) โยนกเชียงแสน พระยามังรายมหาราชสามารถปราบปรามและรวบรวมแว่นแค้วนต่างๆ ในภาคเหนือเข้าด้วยกันเป็นอาณาจักรล้านนาและตั้งราชธานีแห่งใหม่ขึ้นที่เวียงกุมกาม แต่ประทับอยู่ไม่นานก็ย้ายเมืองอยู่ที่เชียงใหม่ใน พ.ศ.1839 อาณาจักรล้านนามีความเจริญรุ่งเรืองหลายด้าน ที่สำคัญดังนี้
3.1) ด้านภาษา ล้านนามีตัวอักษรใช้สามแบบ คือ อักษรธรรมล้านนาหรืออักษรตัวเมือง อักษรฝักขามที่ดัดแปลงมาจากตัวอักษรของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และอักษรขอมเมืองหรืออักษรไทยนิเทศ
3.2) ด้านการปกครอง สามารถขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางโดยรวบรวมหัวเมืองต่างๆเข้าเป็นส่วน หนึ่งของอาณาจักรล้านนาซึ่งปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มีกฎหมายที่ใช้ปกครองเรียกว่า “มังรายศาสตร์”
3.3) ด้านศาสนา พระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์จากสุโขทัยและพม่ามีการสังคายนาพระไตรปิฎกใน พ.ศ.2020 เป็นครั้งที่ 8 มีการสร้างวัดหลายแห่ง เช่น วัดเจดีย์หลวง วัดโพธารามมหาวิหาร(วัดเจดีย์เจ็ดยอด) เป็นต้น

อาณาจักรโยนกเชียงแสน

แคว้นโยนก[1] (พ.ศ. 1835–2435) เป็นรัฐของชาวไทยวนที่ตั้งอยู่แถบลุ่มน้ำโขงตอนกลาง อันเป็นที่ราบลุ่มของแม่น้ำกก เป็นตั้งของชุมชนที่มีมาช้านาน เช่น เมืองเงินยาง เมืองรอย และเมืองเชียงแสน แม้จะเป็นรัฐชายขอบที่ตั้งอยู่ใกล้กับอาณาจักรขนาดใหญ่ ขอม พุกาม และยูนนาน แต่ก็มีพัฒนาการที่รวดเร็วช่วงพุทธศตวรรษที่ 17 ก่อนที่จะพัฒนาจนสถาปนาอาณาจักรล้านนาในกาลต่อมา

 

 

อาณาจักรหริกุญชัย

อาณาจักรหริภุญชัย (ประมาณ พ.ศ. 1206-1835) ตำนานจามเทวีวงศ์โบราณได้บันทึกไว้ว่าฤๅษีวาสุเทพ เป็นผู้สร้างเมืองหริภุญชัยขึ้นในปี พ.ศ. 1310 แล้วต่อมาได้อัญเชิญพระนางจามเทวีซึ่งเป็นพระราชธิดาของกษัตริย์ขอมจากเมืองละโว้(ลพบุรี)ขึ้นไปครองเมืองหริภุญชัย ในครั้งนั้นพระนางจามเทวี ได้นำพระสงฆ์ นักปราชญ์ และช่างศิลปะต่างๆ จากละโว้ขึ้นไปด้วยเป็นจำนวนมาก ราวหมื่นคน พระนางได้ทำนุบำรุงและก่อสร้างบ้านเมือง ทำให้ เมืองหริภุญชัย (ลำพูน) นั้นเป็นแหล่งศิลปวัฒนธรรมที่เจริญรุ่งเรืองยิ่ง ต่อมาพระนางได้สร้างเขลางค์นคร (ลำปาง) ขึ้นอีกเมืองหนึ่งให้เป็นเมืองสำคัญ สมัยนั้นปรากฏมีการใช้ภาษามอญโบราณในศิลาจารึกของหริภุญชัย มีหนังสือหมานซูของจีนสมัยราชวงศ์ถัง กล่าวถึงนครหริภุญชัยไว้ว่า เป็น“อาณาจักรกษัตริย์หญิง หนี่ว์ หวัง กว๋อ(女王國)”

ต่อมา พ.ศ. 1824 พญามังรายมหาราช กษัตริย์ผู้สถาปนาอาณาจักรล้านนา ได้ยกกองทัพเข้ายึดเอาเมืองหริภุญชัยจากพระยายีบาได้ ต่อจากนั้นอาณาจักรหริภุญชัยจึงสิ้นสุดลงหลังจากรุ่งเรืองมา 618 ปี มีกษัตริย์ครองเมือง 49 พระองค์

ปัจจุบันโบราณสถานสำคัญของอาณาจักรหริภุญชัยนั้นก็คือ พระธาตุหริภุญไชย ที่จังหวัดลำพูน ซึ่งเป็นบริเวณที่สันนิษฐานว่าเป็นราชธานีในสมัยนั้น และยังมีเมืองโบราณเวียงมโน ตำบลหนองตอง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ โบราณสถานที่เวียงเกาะ บ้านสองแคว อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ และเวียงท่ากาน ที่ตำบลบ้านกลาง ต.สันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ บางหมู่บ้านของจังหวัดลำพูนนั้นพบว่า ยังมีคนพูดภาษามอญโบราณและอนุรักษ์วัฒนธรรมอาณาจักรมอญโบราณอยู่

อาณาจักรล้านนา

อาณาจักรล้านนา (คำเมืองLN-Lanna.pngพม่า: ဇင်းမယ် ပြည်,IPA: [zɪ́ɴmɛ̀ pjì]) คือ ราชอาณาจักรของชาวไทยวนในอดีตที่ตั้งอยู่บริเวณภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ตลอดจนสิบสองปันนา เช่น เมืองเชียงรุ่ง (จิ่งหง) มณฑลยูนนาน ภาคตะวันออกของพม่า ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน ซึ่งมีเมืองเชียงตุงเป็นเมืองเอก ฝั่งตะวันตกแม่นำสาละวิน มีเมืองนายเป็นเมืองเอก และ 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปางเชียงราย พะเยา แพร่ น่าน และแม่ฮ่องสอน[1] โดยมีเมืองเชียงใหม่ เป็นราชธานี มีภาษา ตัวหนังสือ วัฒนธรรม และประเพณีเป็นของตนเอง ต่อมาถูกปกครองในฐานะรัฐบรรณาการของอาณาจักรตองอู อาณาจักรอยุธยา และอาณาจักรอังวะ จนสิ้นฐานะอาณาจักร กลายเป็นเมืองส่วนหนึ่งของอาณาจักรอังวะในราชวงศ์นยองยาน ไปในที่สุด

อาณาจักรโบราณในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

1) อาณาจักรโคตรบูรณ์(พุทธศตวรรษที่ 12-16) มีศูนย์กลางอยู่ที่นครพนมมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ภาคตะวะนออกเฉียงเหนือ ตลอดจนดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง
เรื่องราวของอาณาจักรโคตรบูรณ์ปรากฏอยู่ใน “ตำนานอุรังคธาตุ”ที่กล่าวถึงความเป็นมาของชุมชนในอาณาจักร และประวัติการสร้างพระธาตุพนม อาณาจักรโคตลบูรณ์ได้รับอิทธิพลจากอินเดียมีการปกครองโดยกษัตริย์นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทตามแบบทวารวดีและมีความเชื่อพื้นเมืองเรื่องการนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์และการบูชาพญานาคศาสนสถานที่สำคัญของอาณาจักร คือ พระธาตุพนม
2) อาณาจักรอิศานปุระ(พุทธศตวรรษที่ 12-18) หรืออาณาจักรขอมรุ่งเรืองขึ้นในสมัยพระเจ้าอิศานวรมัน เรื่องราวของอาณาจักรอิศานปุระหรือเจนละ ปรากฏอยู่ในจดหมายเหตุจีนราชวงศ์ต่างๆและในยันทึกของราชทูตจีน ชื่อ โจว ต้ากวน เขียนบันทึกเรื่องราวของอาณาจักรเจนละไว้ในชื่อ “บันทึกว่าด้วยขนบธรรมเนียมประเพณีของเจนละ” สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เป็นยุคที่อาณาจักรขอมเป็นปึกแผ่นและเจริญรุ่งเรืองทางด้านศิลปะวิทยาการสูงสุด มีการสร้าง ศาสนสถานเป็นปราสาทหินขนาดใหญ่ขึ้นหลายแห่ง เช่น ปราสาทนครธม ปราสาทตาพรหม ปราสาทหินพิมายจังหวัดนครราชสีมา ปราสาทหินพนมรุ้ง ปราสาทเมืองต่ำ จังหวัดบุรีรัมย์ ปราสาทศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ พระปรางค์สามยอด จังหวัดลพบุรี ปราสาทเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นต้น อาณาขอมได้เผยแพร่อารยธรรมไปยังรัฐที่อยู่ใกล้เคียงหลายด้าน ทั้งด้านการปกครอง ได้แก่ การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ความเป็นสมมติเทพของกษัตริย์ ระบบขุนนางการปกครองแบบจตุสดมภ์ และกฎหมายพระธรรมศาสตร์
ด้านศาสนาและความเชื่อได้แก่ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู พระพุทธศาสนานิกายอาจริยวาทหรือมหายาน ดังจะเห็นได้จากโบราณสถานและโบราณวัตถุ เช่น ปราสาทหิน เทวรูปพระโพธิ์สัตว์ ศิวลึงค์ พระพุทธรูปปางนาคปรก ความเชื่อเรื่องพญานาค เป็นต้น

อาณาจักรโคตรบูรณ์

อาณาจักรโคตรบูร เป็นอาณาจักรโบราณทางภาคอีสานของไทย พุทธศตวรรษที่ 11-15 (ระหว่าง พ.ศ. 1000-1500) ครอบคลุมบริเวณ ฝั่งแม่น้ำโขงตั้งแต่อุดรธานี หนองคาย เวียงจันทน์ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ ถึงอุบลราชธานี นับถือ พุทธศาสนา มีการสร้างพระเจดีย์สำคัญ คือ พระธาตุพนม มีเมืองหลวงคือ มรุกขนคร ซึ่งขึ้นใหม่ใต้เมืองท่าแขก บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง

ตำนานอุรังคธาตุกล่าวถึงการสร้างโบราณสถานสำคัญทางพุทธศาสนานิกายเถรวาท คือ เจดีย์พระธาตุพนมที่เมืองนครพนม ในประมาณพุทธศตวรรษที่ 13 เป็นเจดียสถานที่เก่าแก่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอายุกว่าพันปีมาแล้ว มหาชนเชื่อกันว่า ภายในเจดีย์มีการบรรจุพระบรมธาตุส่วนหน้าพระอุระของพระพุทธเจ้าซึ่งเรียกว่า “พระอุรังคธาตุ” ลวดลายและภาพที่สลักบนแผ่นอิฐ ประดับรอบพระธาตุเจดีย์ทั้ง 4 ด้าน เป็นลักษณะศิลปกรรมของตนเองโดยเฉพาะ

เจดีย์พระธาตุพนมสร้างขึ้นโดยชุมชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณ 2 ฝั่งแม่น้ำโขง เป็นปูชนียสถานที่รวมศรัทธาของพุทธศาสนิกชนบริเวณลุ่มแม่น้ำโขงและดินแดนต่างๆในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

อาณาจักรโคตรบูร เสื่อมลงเมื่อถูกอาณาจักรล้านช้างของลาวนำโดยเจ้าฟ้างุ้ม โจมตีและเกิดโรคระบาด

อาณาจักรอิศานปุระ

อาณาจักรอิศานปุระ เป็นอาณาจักรโบราณ รุ่งเรืองอยู่ในช่วงพุทธศตรวรรษที่ 11 ครอบคลุมพื้นที่ภาคอีสานตอนล่างของไทย ตอนบนของประเทศกัมพูชา และลาวตอนใต้ สถาปนาขึ้นโดยพระเจ้าอิศานวรมัน ผู้สืบเชื้อสายมาจากกษัตริย์เจนละ คือพระเจ้ามเหนทระวรมัน หรือที่จิตรเสน ผู้ครองแคล้นเจนละ ที่ทรงครอบครองดินแดนในพื้นที่อีสานตอนใต้และลาวทางตอนใต้แถบวัดภู หลังจากที่ได้รับการสิบทอดอำนาจจากพระเจ้าจิตรเสน พระเจ้าอีศานวรมัน เสด็จขึ้นครองราชย์ (ราวพ.ศ. ๑๑๕๓-๑๑๙๘) ได้ทำสงครามกับอาณาจักรฟูนัน ที่ยึดของพื้นที่ทางตอนใต้ ควบรวมเป็นอาณาจักรเดียวกัน ซึ่งเป็นการสูญสิ้นอาณาจักรฟูนัน และได้สถาปนาศูนย์กลางการปกครองขึ้นใหม่ ชื่อว่า”อีศานปุระ “